top of page

รู้จัก CAT ที่ไม่ได้แปลว่าแมวกัน

อัปเดตเมื่อ 9 ก.พ. 2562



 

นิยามของคำว่า CAT

กำเนิด CAT

องค์ประกอบ CAT Tools

ประเภท CAT Tools

 

นิยามของคำว่า CAT


CAT ย่อมาจากคำว่า Computer-aided Translation หมายถึง "กลวิธีการแปลที่อาศัยคอมพิวเตอร์ในการช่วยการทำงานแปลของมนุษย์" (O'Hagan 2008, p.48)
Computer-aided translation refers to a translation modus operandi in which human translation (HT) is aided by computer application (O'Hagan 2008, p.48)

ลักษณะเฉพาะตัวของการแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAT) คือ มนุษย์เป็นผู้ควบคุมกระบวนการทำงาน เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องทุ่นแรง ไม่ได้มาแทนการแปลด้วยมนุษย์


Computer-aided translation (CAT) เป็นสายความรู้หนึ่งในสาขา Computer-based translation (Ping: 2008, p. 162) หรือ Translation Technology และมักจะถูกเอ่ยคู่กันกับคำว่า Machine Translation (MT) อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองกลวิธีอาศัยคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีในการช่วยแปลเช่นเดียวกัน ต่างกันตรงที่ว่า Machine Translation ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปล และให้มนุษย์เป็นฝ่ายแก้ไขบทแปลภายหลัง ในขณะที่ Computer-based translation (CAT) ใช้มนุษย์แปล และให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทุ่นแรง



 

จุดเริ่มต้นของ CAT มาจาก Machine Translation


แนวคิด CAT เกิดขึ้นจากความล้มเหลวในการคิดค้นเครื่องแปลภาษาอัตโนมัติ (MT) ในปี 1967 ซึ่งพัฒนาโดยโครงการ ALPAC (Automatic Language Processing Advisory Commitee) ของสหรัฐอเมริกา

คณะกรรมการ ALPAC ได้ตีพิมพ์รายงานการวิจัยโครงการที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปีไว้ว่า


“เรายังคาดการไม่ได้ว่าเทคโนโลยีการแปลภาษาอัตโนมัติจะใช้งานได้จริงในเร็ววันนี้หรือไม่ หรือเมื่อไหร่” “There is no immediate or predictable prospect of useful machine translation”

สมัยนั้น การใช้เครื่องแปลภาษาอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนแปลถึง 2 เท่า คุณภาพงานแปลที่ออกมาก็ไม่ได้ตามมาตรฐาน ทางคณะกรรมการ ALPAC จึงประกาศล้มเลิกโครงการแล้วหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีช่วยแปล (CAT) แทน ทั้งนี้จุดประสงค์ของ CAT ก็เพื่อ “พัฒนาคุณภาพงานแปลของคน โดยใช้เครื่องช่วยในระดับที่เหมาะสม” (“aimed at improving human translation, with an appropriate use of machine aids”) ALPAC เชื่อว่า “การใช้เครื่องช่วยแปลจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานแปลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น รวดเร็วขึ้น และค่าใช้จ่ายน้อยลง” (“Machine aided translaiton may be an important venue towards better, quicker, and cheaper translation”)


ในปี 1980s บริษัทผู้คิดค้นและผลิตโปรแกรมช่วยแปล หรือ CAT Tools หลายรายถือกำเนิดในยุโรป อังกฤษ​ อเมริกา และรัสเซีย โปรแกรมช่วยแปลรุ่นแรกๆ ที่ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ได้แก่ Trados (โดย SDL) และ Transit (โดย STAR)


ปัจจุบัน เชื่อว่ามีโปรแกรมช่วยแปลออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดมากกว่า 100 โปรแกรม โดยเบนเข็มฐานการผลิตออกจากยุโรป ไปโซนเอเชียอย่าง จีน ญี่ปุ่น และอินเดียเพิ่มขึ้น (Chan sin-Wai, หน้า 26)


Chan sin-Wai ได้ทำวิจัยรวบรวมเครื่องมือช่วยแปลที่วางจำหน่ายสู่ท้องตลาดทั่วโลกตั้งแต่ปี 1984-2012 พบว่ามีซอฟต์แวร์จำหน่ายทั้งหมด 86 โปรแกรม กว่าครึ่งหนึ่ง (49.38%) ผลิตในยุโรป และประมาณหนึ่งในสี่ (27.16%) ผลิตในสหรัฐอเมริกา มีการคาดการณ์มีโปรแกรมช่วยแปลออกจำหน่าย/พัฒนาถึง 3 โปรแกรมต่อปี (Chan sin-Wai, หน้า 26) ตลอดนับ 28 ปีที่โปรแกรมออกสู่ท้องตลาด


 

องค์ประกอบ CAT Tools


องค์ประกอบภายใน CAT Tools แบ่งออกตาม “แนวคิด” ทุ่นแรงนักแปล ดังนี้


แนวคิดเก็บหน่วยคำแปล (Translation Memory: TM)

การแปลเอกสารขนาดใหญ่มักอาศัยนักแปลหลายคนทำงานร่วมกัน แต่ละคนอาจแปลประโยคเดียวกันไม่เหมือนกัน Translation Memory (TM) จะช่วยเก็บประโยค/วลี/ย่อหน้า ที่เคยแปลแล้วเป็นคู่ แต่ละคู่เรียกว่า “Segment” และเสนอให้นักแปลดึงมาใช้งานซ้ำได้ TM เปรียบเสมือน“กรุคำแปล” ที่นักแปลเรียกใช้เมื่อต้องแปลประโยคเดิมซ้ำ


แนวคิดเก็บคลังคำศัพท์ (Terminology Management Software)

เอกสารทางเทคนิคบางประเภทมีคำศัพท์เฉพาะที่นักแปลพึงระวังคำที่เลือกใช้ ให้คงที่สม่ำเสมอ เช่น คำว่า “Folder” อาจแปลเป็น “แฟ้ม” หรือ “โฟลเดอร์” ก็ได้ ระบบเก็บคลังคำศัพท์ (Terminology Management System) จะช่วยเก็บคำศัพท์เป็นคู่ๆ โดยบรรจุไว้ในพจนานุกรมส่วนตัวที่เราสร้างขึ้น ช่วยให้นักแปลสรรคำเดิมมาใช้สม่ำเสมอ หรือแม้แต่เตือนนักแปลหากพบว่าใช้คำต้องห้าม (Black list) หรือค้นหาคำแปลที่เคยแปลไปแล้วแม้จะไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรม (concordance) เป็นต้น นอกจากนี้การเก็บคลังคำศัพท์ ยังรวมไปถึงการดึงคำที่มีแนวโน้มว่าจะเป็น “คำสำคัญ” ในเอกสารก่อนเริ่มทำงานแปลด้วย (Terminology Extraction)


แนวคิดจัดเรียงคำแปล (Alignment)

บางครั้งนักแปลต้องการสร้าง “กรุคำแปล” ของตนเองเพื่อเพิ่มฐานข้อมูลใน TM ไว้ใช้งานในอนาคต การจัดเรียงคำแปล (Alignment) จะช่วยดึงข้อความในเอกสารต้นฉบับมาเทียบกับภาษาปลายทางในลักษณะทวิภาษา (bi-text) นักแปลสามารถนำไฟล์ที่จัดเรียงเป็นคู่ไปเพิ่มหรืออัปโหลดใน TM ของตนเองได้เลย


แนวคิดแปลด้วยคอมพิวเตอร์โดยอัติโนมัติ (Machine Translation: MT)

ผู้ผลิต CAT tools บางรายนำระบบแปลด้วยคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ (Machine Translation: MT) มาใช้ร่วมกันเพื่อให้งานแปลเสร็จรวดเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูป API ให้นักแปลจ่ายค่าบริการตามการใช้งาน เช่น Google MT, Microsoft MT, KantanMT (ระบบ MT พัฒนาเองได้)


หน้าต่าง Editor

คือ หน้าต่างแสดงต้นฉบับ คู่กันกับฉบับแปลให้นักแปลในลักษณะทวิภาษา (bi-text) คล้ายกับหน้าต่างจัดเรียงคำแปล (Allignment) แตกต่างตรงที่มีวัตถุประสงค์ให้แปลงาน ไม่ใช่ให้เรียงคำแปลที่มีอยู่แล้ว


 

ประเภท CAT Tools


เราแบ่ง CAT Tools ออกตามเกณฑ์การแบ่งสามแบบคือ

  1. ลักษณะโปรแกรม

  2. การติดตั้ง

  3. ลักษณะไฟล์ที่ต้องการแปล

CAT Tools แบ่งออกตามลักษณะโปรแกรม คือ

  1. Stand Alone หมายถึง โปรแกรมที่ประกอบด้วยโมดุลใช้งานเพียงหนึ่งโมดุลเท่านั้น เช่น swordfish (โปรแกรมจัดเรียงคำแปล หรือ Alignment) Winalign (โปรแกรมจัดเรียงคำแปล หรือ allignment) SDL Multiterm (โปรแกรมจัดทำคลังคำศัพท์ หรือ Terminology Managment software)

  2. ADD-ON หมายถึง โปรแกรมที่สนับสนุนการใช้งานซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Trados Translator’s Workbench นำมาใช้คู่กับ Microsoft word

  3. Translation Suite/Translation work station/Translation environment tools (TENT) หมายถึง โปรแกรมที่ประกอบด้วยโมดุลใช้งานทุกโมดุลแบบเบ็ดเสร็จ เช่น Trados Studio, MemoQ, Worfast, Dejávu เป็นแบบที่ใช้แพร่หลายที่สุด

หากแบ่งตามการติดตั้ง CAT Tools แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

  1. โปรแกรมที่ติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์โดยใช้พื้นที่ภายใน (Local) นักแปลจำเป็นต้องซื้อใบอนุญาต (license) และไม่สามารถใช้โปรแกรมกับคอมพิวเติอร์เครื่องอื่นได้ (เว้นแต่ถอนใบอนุญาตออก) เช่น Trados Studio, MemoQ, Wordfast Pro, Déja Vú, Passolo, Catalyst

  2. โปรแกรมที่ใช้งานผ่านคลาวน์ (Cloud) นักแปลใช้งานผ่านการสมัครสมาชิกรายเดือน (Subscription) สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่มีระบบอินเตอร์เน็ต หากไม่มีอินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น Memsource, XTM Cloud, Wordfast, Systrans, Transifex, Google Translator Toolkit,

หากแบ่งตามประเภทเอกสาร/ไฟล์ที่ต้องการแปล CAT Tools แบ่งออกได้ดังนี้

  1. การแปล Software/UI (User Interface) จำเป็นต้องเห็นหน้าตากล่องข้อความ (dialogue box) ดังนั้น หน้าต่าง Editor ของ CAT Tools ทั่วไปอาจไม่ตอบโจทย์เสียเท่าไหร่ ตัวอย่างโปรแกรมที่มักใช้แปลงาน UI เช่น Passolo หรือ Alchemist, Google translator’s toolkit (แปล Jason file),

  2. การแปลเว็บไซต์ คล้ายคลึงกันกับงานแปล UI ตรงที่นักแปลจำเป็นต้องเห็นเลย์เอ้าท์ของเว็บเพื่อตัดประโยคและป้องกันปัญหาประโยคแหว่ง (Truncate) ตัวอย่างโปรแกรมที่มักใช้แปลเว็บไซต์ เช่น Systran, Transifex,

  3. การแปล AV (Audio Visual) หรือพูดง่ายๆ ก็คืองานแปลซับไตเติ้ล นักแปลต้องเห็นซับปรากฏบนหน้าจอ พร้อม เวลาซับเข้า/ออก (time-in/time-out) จึงต้องอาศัยโปรแกรมที่แสดงผลเวลาและพื้นที่ได้ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้แปลซับไตเติ้ลคือ Aegisub, Subtitle workshop, Win

 

รายการอ้างอิง

Gotti et al. 2005

O'hagan 2005

Lynne Bowker

Maklovitch and Russell


ดู 1,970 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page